วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า

การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า

           ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตมนุษย์ถ้าเราใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปหรือใช้อย่างไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาได้ดังนั้นเราจึงควรร่วมใจกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่า การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่ามีแนวปฏิบัติที่เรียกว่าหลัก 3  R ดังนี้

                1. ลดการใช้ (Reduce) การลดการใช้ทรัพยากร หมายถึง การลดปริมาณการใช้ทรัพยากรให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมหรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น การปิดน้ำและไฟเมื่อไม่ใช้งาน ซึ่งเป็นการลดการใช้เชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นต้น
ปิดไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้

                2. การนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ(Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่งโดยไม่ผ่านการแปรรูป เช่น การนำถุงพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เป็นต้น

                3. การผลิตขึ้นใช้ใหม่(Recycle) การผลิตขึ้นใหม่ เป็นการนำวัสดุที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ เพื่อให้ได้ของใหม่ซึ่งอาจเหมือนเดิมหรือไม่เหมือนเดิม วัสดุที่สามารถนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้ เช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก เป็นต้นการลดการใช้   ทรัพยากรธรรมชาติ 

การนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ และการผลิตขึ้นใช้ใหม่เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปริมาณขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เพื่อในอนาคตเราจะได้มีทรัพยากรธรรมชาติใช้ได้นานและยั่งยืน

ปัญหาการใช้หินและแร่

ปัญหาการใช้หินและแร่


ปัญหาการใช้หินและแร่

                เมื่อโลกเรามีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการในการใช้สินค้าอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคต่างๆ ย่อมต้องมากขึ้นไปด้วยจึงต้องมีการนำหินและแร่ธาตุมาใช้มากขึ้นเพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคต่างๆ ให้เพียงพอกับความต้องการของประชากรทำให้ทรัพยากรหินและแร่ธาตุหมดไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทรัพยากรหินและแร่ธาตุต้องใช้เวลาในการเกิดใหม่ยาวนานหลายล้านปี มีสาเหตุและผลกระทบดังนี้
                1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ทำเหมืองแร่แล้วทำให้สภาพดินไม่อุดมสมบูรณ์ สกปรกพื้นที่ขรุขระ มีหลุมบ่อมากมาย จึงถูกปล่อยทิ้งทำให้ใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
                2. ปัญหาการใช้แร่บางประเภทเป็นจำนวนมากแร่เหล็กถูกนำมาใช้เป็นจำนวนมากและแพร่หลายที่สุด ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม ดีบุก  ทำให้ขาดแคลน
                3. ปัญหาการใช้แร่ไม่คุ้มค่า ได้แก่พวกที่ใช้แล้วยังเหลืออยู่ยังสามารถนำกลับไปใช้ได้อีกเช่นเหล็ก ส่วนแร่ธาตุที่ใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน หินน้ำมัน น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติเราจึงต้องใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัด

การทำเหมืองแร่





ปัญหาการใช้ทรัพยากรป่าไม้

ปัญหาการใช้ทรัพยากรป่าไม้


ปัญหาการใช้ป่าไม้

                ป่าไม้ในหลายท้องถิ่นในปัจจุบันลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วซึ่งมีสาเหตุหลายประการดังนี้
                1. การเพิ่มจำนวนของประชากร ทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย

                2. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์และเพื่อประโยชน์ด้านธุรกิจ เช่น การทำสนาม-กอล์ฟ รีสอร์ท ทำให้ป่าไม้ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว


                3. การสร้างสาะารณูปโภค เช่น เขื่อน  อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม

                4. ไฟป่า มักกจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง อากาศแห้งและร้อนจัด ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากธรรมชาติและมนุษย์

               5. การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบมีป่าไม้ปกคลุมอยู่มีความจำเป็นต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ถูกทำลาย ทำถนนเป็น
เส้นทางขนย้ายแร่ 


ปัญหาอากาศเป็นพิษ

ปัญหาอากาศเป็นพิษ


ปัญหาอากาศเป็นพิษ

                ปัญหาอากาศเป้นพิษเกิดจากอากาศที่อยู่รอบๆตัวเรามีสารพิษเจือปนมากจนกระทั่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การปล่อยควันจากโรงงานอุตสากหกรรมควันจาก
ท่อไอเสียรถยนต์ การเผาขยะ เป็นต้น
                1. ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมจะมีสารพิษเจือปนในอากาศทำให้เกิดฝนกรด


                2. การเผาขยะ การเผาขยะก่อให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก 
ภาวะโลกร้อน

                3. ควันจากท่อไอเสียของรถยนต์ บริเวณที่มีการจราจร
ติดขัดจะมีมลพิษทางอากาศเพราะเครื่องยนต์จะมีการเผาไหม้
เชื้อเพลิงตลอดเวลา


ปัญหาการใช้ทรัพยากรน้ำ

ปัญหาการใช้ทรัพยากรน้ำ

ปัญหาการใช้น้ำ

               1. ประชากรมีจำนวนมากขึ้น ความต้องการใช้น้ำก็มีปริมาณ
เพิ่มขึ้น
         2. การกระจายน้ำไปสู่ส่วนต่าง ๆของพื้นที่ไม่เท่าเทียมกัน
         3. ปัญหาน้ำเน่าเสีย เกิดจากการปล่อยน้ำเสียและขยะมูลฝอยจากแหล่งชุมชนต่าง ๆ
             3.1. น้ำเสียจากบ้านเรือน แหล่งชุมชนต่างๆอาจปล่อยน้ำเสียจากการอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำ ซึ่งอาจทำให้แม่น้ำเน่าเสียได้
น้ำเสียจากบ้านเรือน

             3.2. น้ำเสียจากการเกษตร การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร อาจเกิดสารเคมีตกค้างในดิน หรือการเลี้ยงสัตว์ซึ่งอาจมีสิ่งปฏิกูลปะปนอยู่ในดินเมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนก็จะชะล้างสารเคมีและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำ
น้ำเสียจากการเกษตร

             3.3. น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำทิ้งจากโรงงาน-อุตสาหกรรมที่ไม่ได้บำบัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ อาจมีสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น คราบน้ำมัน สารเคมี ต่างๆ เป็นต้น เมื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำตายได้
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม




แร่ธาตุ

แร่ธาตุ



แร่ธาตุ
                แร่ธาตุ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 
ประเภทใช้แล้วหมดไปแร่ธาตุจัดเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการ
ดำรงชีวิตของมนุษย์ แร่ธาตุมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง มีรูปร่างและ
ผลึกที่แน่นอน บางชนิดอาจมีความมันวาวด้วย

แร่ธาตุต่างๆ

ประเภทของแร่ธาตุ
               1. แร่โลหะ คือ แร่ที่ต้องนำมาถลุงก่อนแล้วจึงนำมาใช้ประโยชน์ หรือแร่ที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ  มีความเหนียว ทนทาน สามารถทำเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ นำความร้อนได้ดีมีความวาว เช่น แร่ดีบุก แร่วุลแฟรม เหล็ก  ทองแดง  นิเกิล สังกะสี พลวง ตะกั่ว อะลูมีเนียมเป็นต้น
                2. แร่อโลหะ  คือ แร่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที โดยไม่ต้องนำมาถลุงก่อน หรือแร่ที่ไม่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ ไม่เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้า ไม่มีความเหนียว ไม่มีความวาว
เช่น แร่ยิปซั่ม แร่ฟลูออไรด์ เป็นต้น
                3. แร่เชื้อเพลิง คือแร่ที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือให้พลังงานความร้อนเมื่อเกิดการเผาไหม้ เช่นถ่านหิน หินน้ำมัน 
ปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ
                4. แร่รัตนชาติ คือ แร่ที่มีสมบัติพิเศษ เช่น ความวาว 
สีสดสวย งามใส เมื่อนำไปเจียรไนแล้วจะทำให้มีความสวยงามแวววาวมากยิ่งขึ้นจึงเป็นอัญมณีและเครื่องประดับที่มีราคาแพง เช่น เพชร   พลอย  มรกต  เป็นต้น
                5. แร่กัมมันตรังสี เป็นแร่ที่ให้สารกัมมันตรังสี 
ซึ่งสารกัมมันตรังสีให้รังสีต่างๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์
ในด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม และด้านเกษตรกรรม


สัตว์ป่า

สัตว์ป่า

สัตว์ป่า
                สัตว์ป่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาติ
 สัตว์ป่ามีหลายชนิด เช่นเสือ ลิง ช้าง สิงโต หมี กวาง เป็นต้น 
ประโยชน์ของสัตว์ป่า
        สัตว์ป่ามีความสำคัญในด้านการรักษาสภาพแวดล้อมให้มี
ความสมดุล ด้านการศึกษาชีวิตและธรรมชาติของสัตว์
ด้านการท่องเที่ยวเพื่อดูสัตว์ป่า

สัตว์ป่าในธรรมชาติ


<<ก่อนหน้า      หน้าแรก       หน้าต่อไป>>