วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า

การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า

           ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตมนุษย์ถ้าเราใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปหรือใช้อย่างไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาได้ดังนั้นเราจึงควรร่วมใจกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่า การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่ามีแนวปฏิบัติที่เรียกว่าหลัก 3  R ดังนี้

                1. ลดการใช้ (Reduce) การลดการใช้ทรัพยากร หมายถึง การลดปริมาณการใช้ทรัพยากรให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมหรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น การปิดน้ำและไฟเมื่อไม่ใช้งาน ซึ่งเป็นการลดการใช้เชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นต้น
ปิดไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้

                2. การนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ(Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่งโดยไม่ผ่านการแปรรูป เช่น การนำถุงพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เป็นต้น

                3. การผลิตขึ้นใช้ใหม่(Recycle) การผลิตขึ้นใหม่ เป็นการนำวัสดุที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ เพื่อให้ได้ของใหม่ซึ่งอาจเหมือนเดิมหรือไม่เหมือนเดิม วัสดุที่สามารถนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้ เช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก เป็นต้นการลดการใช้   ทรัพยากรธรรมชาติ 

การนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ และการผลิตขึ้นใช้ใหม่เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปริมาณขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เพื่อในอนาคตเราจะได้มีทรัพยากรธรรมชาติใช้ได้นานและยั่งยืน

ปัญหาการใช้หินและแร่

ปัญหาการใช้หินและแร่


ปัญหาการใช้หินและแร่

                เมื่อโลกเรามีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการในการใช้สินค้าอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคต่างๆ ย่อมต้องมากขึ้นไปด้วยจึงต้องมีการนำหินและแร่ธาตุมาใช้มากขึ้นเพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคต่างๆ ให้เพียงพอกับความต้องการของประชากรทำให้ทรัพยากรหินและแร่ธาตุหมดไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทรัพยากรหินและแร่ธาตุต้องใช้เวลาในการเกิดใหม่ยาวนานหลายล้านปี มีสาเหตุและผลกระทบดังนี้
                1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ทำเหมืองแร่แล้วทำให้สภาพดินไม่อุดมสมบูรณ์ สกปรกพื้นที่ขรุขระ มีหลุมบ่อมากมาย จึงถูกปล่อยทิ้งทำให้ใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
                2. ปัญหาการใช้แร่บางประเภทเป็นจำนวนมากแร่เหล็กถูกนำมาใช้เป็นจำนวนมากและแพร่หลายที่สุด ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม ดีบุก  ทำให้ขาดแคลน
                3. ปัญหาการใช้แร่ไม่คุ้มค่า ได้แก่พวกที่ใช้แล้วยังเหลืออยู่ยังสามารถนำกลับไปใช้ได้อีกเช่นเหล็ก ส่วนแร่ธาตุที่ใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน หินน้ำมัน น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติเราจึงต้องใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัด

การทำเหมืองแร่





ปัญหาการใช้ทรัพยากรป่าไม้

ปัญหาการใช้ทรัพยากรป่าไม้


ปัญหาการใช้ป่าไม้

                ป่าไม้ในหลายท้องถิ่นในปัจจุบันลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วซึ่งมีสาเหตุหลายประการดังนี้
                1. การเพิ่มจำนวนของประชากร ทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย

                2. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์และเพื่อประโยชน์ด้านธุรกิจ เช่น การทำสนาม-กอล์ฟ รีสอร์ท ทำให้ป่าไม้ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว


                3. การสร้างสาะารณูปโภค เช่น เขื่อน  อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม

                4. ไฟป่า มักกจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง อากาศแห้งและร้อนจัด ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากธรรมชาติและมนุษย์

               5. การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบมีป่าไม้ปกคลุมอยู่มีความจำเป็นต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ถูกทำลาย ทำถนนเป็น
เส้นทางขนย้ายแร่ 


ปัญหาอากาศเป็นพิษ

ปัญหาอากาศเป็นพิษ


ปัญหาอากาศเป็นพิษ

                ปัญหาอากาศเป้นพิษเกิดจากอากาศที่อยู่รอบๆตัวเรามีสารพิษเจือปนมากจนกระทั่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การปล่อยควันจากโรงงานอุตสากหกรรมควันจาก
ท่อไอเสียรถยนต์ การเผาขยะ เป็นต้น
                1. ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมจะมีสารพิษเจือปนในอากาศทำให้เกิดฝนกรด


                2. การเผาขยะ การเผาขยะก่อให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก 
ภาวะโลกร้อน

                3. ควันจากท่อไอเสียของรถยนต์ บริเวณที่มีการจราจร
ติดขัดจะมีมลพิษทางอากาศเพราะเครื่องยนต์จะมีการเผาไหม้
เชื้อเพลิงตลอดเวลา


ปัญหาการใช้ทรัพยากรน้ำ

ปัญหาการใช้ทรัพยากรน้ำ

ปัญหาการใช้น้ำ

               1. ประชากรมีจำนวนมากขึ้น ความต้องการใช้น้ำก็มีปริมาณ
เพิ่มขึ้น
         2. การกระจายน้ำไปสู่ส่วนต่าง ๆของพื้นที่ไม่เท่าเทียมกัน
         3. ปัญหาน้ำเน่าเสีย เกิดจากการปล่อยน้ำเสียและขยะมูลฝอยจากแหล่งชุมชนต่าง ๆ
             3.1. น้ำเสียจากบ้านเรือน แหล่งชุมชนต่างๆอาจปล่อยน้ำเสียจากการอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำ ซึ่งอาจทำให้แม่น้ำเน่าเสียได้
น้ำเสียจากบ้านเรือน

             3.2. น้ำเสียจากการเกษตร การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร อาจเกิดสารเคมีตกค้างในดิน หรือการเลี้ยงสัตว์ซึ่งอาจมีสิ่งปฏิกูลปะปนอยู่ในดินเมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนก็จะชะล้างสารเคมีและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำ
น้ำเสียจากการเกษตร

             3.3. น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำทิ้งจากโรงงาน-อุตสาหกรรมที่ไม่ได้บำบัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ อาจมีสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น คราบน้ำมัน สารเคมี ต่างๆ เป็นต้น เมื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำตายได้
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม




แร่ธาตุ

แร่ธาตุ



แร่ธาตุ
                แร่ธาตุ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 
ประเภทใช้แล้วหมดไปแร่ธาตุจัดเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการ
ดำรงชีวิตของมนุษย์ แร่ธาตุมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง มีรูปร่างและ
ผลึกที่แน่นอน บางชนิดอาจมีความมันวาวด้วย

แร่ธาตุต่างๆ

ประเภทของแร่ธาตุ
               1. แร่โลหะ คือ แร่ที่ต้องนำมาถลุงก่อนแล้วจึงนำมาใช้ประโยชน์ หรือแร่ที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ  มีความเหนียว ทนทาน สามารถทำเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ นำความร้อนได้ดีมีความวาว เช่น แร่ดีบุก แร่วุลแฟรม เหล็ก  ทองแดง  นิเกิล สังกะสี พลวง ตะกั่ว อะลูมีเนียมเป็นต้น
                2. แร่อโลหะ  คือ แร่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที โดยไม่ต้องนำมาถลุงก่อน หรือแร่ที่ไม่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ ไม่เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้า ไม่มีความเหนียว ไม่มีความวาว
เช่น แร่ยิปซั่ม แร่ฟลูออไรด์ เป็นต้น
                3. แร่เชื้อเพลิง คือแร่ที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือให้พลังงานความร้อนเมื่อเกิดการเผาไหม้ เช่นถ่านหิน หินน้ำมัน 
ปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ
                4. แร่รัตนชาติ คือ แร่ที่มีสมบัติพิเศษ เช่น ความวาว 
สีสดสวย งามใส เมื่อนำไปเจียรไนแล้วจะทำให้มีความสวยงามแวววาวมากยิ่งขึ้นจึงเป็นอัญมณีและเครื่องประดับที่มีราคาแพง เช่น เพชร   พลอย  มรกต  เป็นต้น
                5. แร่กัมมันตรังสี เป็นแร่ที่ให้สารกัมมันตรังสี 
ซึ่งสารกัมมันตรังสีให้รังสีต่างๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์
ในด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม และด้านเกษตรกรรม


สัตว์ป่า

สัตว์ป่า

สัตว์ป่า
                สัตว์ป่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาติ
 สัตว์ป่ามีหลายชนิด เช่นเสือ ลิง ช้าง สิงโต หมี กวาง เป็นต้น 
ประโยชน์ของสัตว์ป่า
        สัตว์ป่ามีความสำคัญในด้านการรักษาสภาพแวดล้อมให้มี
ความสมดุล ด้านการศึกษาชีวิตและธรรมชาติของสัตว์
ด้านการท่องเที่ยวเพื่อดูสัตว์ป่า

สัตว์ป่าในธรรมชาติ


<<ก่อนหน้า      หน้าแรก       หน้าต่อไป>> 



อากาศ


อากาศ

                อากาศ คือบรรยากาศที่ห่อหุ้มลกโดยรอบ ประกอบด้วย
แก๊สไนโตรเจน ออกซิเจนคาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ ฝุ่นละอองและ
แก๊สอื่นๆ อีกในปริมาณเล็กน้อย แก๊สออกซิเจนเป็นแก๊สที่สิ่งมีชีวิต
ใช้ในการหายใจเพื่อดำรงชีวิตถ้าขาดแก๊สออกซิเจนในการหายใจ
ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ สิ่งมีชีวิตก็จะตาย ส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
พืชจะใช้ในกระบวนการสร้างอาหารของพืช


ทรัพยากรป่าไม้

ทรัพยากรป่าไม้

ป่าไม้
                ป่าไม้ หมายถึง พื้นที่ที่มีต้นไม้ลากหลายชนิดขึ้นอยู่รวมกันจำนวนมาก มีทั้งต้นไม้ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับดินและน้ำและมีความสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ และสัตว์ป่า ป่าไม้ช่วยรักษาสมดุลของธรรมชาติ และให้ประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมหาศาล 



ประเภทของป่าไม้
                1. ป่าไม้ประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าไม้ที่เขียวชอุ่มตลอดปี อยู่ในเขตที่มีความชื้นสูงและมีฝนตกชุก เช่น ป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าชายเลน เป็นต้น
         2. ป่าไม้ประเภทผลัดใบ มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง จะผลัดใบทิ้งเมื่อถึง ฤดูแล้ง เพื่อลดการคายน้ำ เช่น ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา เป็นต้น
การใช้ประโยชน์ของป่าไม้
                 ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่
ประโยชน์ทางตรง 
     ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ
          1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ                      เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น
          2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล
          3. ใช้เส้นใย ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ
 เป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ
          4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ
ประโยชน์ทางอ้อม
          1.  ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้ น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดิน กลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอด
      2.  ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่า ทำให้อากาสเหนือป่ามีความชื้นสูง เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านันก็จะกลั่นตัวก็จะกลั่นตัวเป็นเมฆกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
     3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาหาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากะรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่า จึงเป็นแหล่ง
พักผ่อนหย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืช 
พันธุ์สัตว์ จำนวนมากจึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้
    4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พักผ่านได้ตั้งแต่ ๑๑-๔๔ % ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
    5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะ การหลุดเลื่อนของดินจึงเกิดขึ้นน้อยและยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำ ลำธาร ต่างๆม่ตื้นเขินอีกด้วย


ทรัพยากรน้ำ

ทรัพยากรน้ำ


น้ำเป็นทรัพยากรที่มีมากที่สุดประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของโลก เราสามารถพบน้ำได้ทั้งน้ำที่อยู่บนผิวดิน เรียกว่า น้ำผิวดิน เช่น แม่น้ำ  ทะเล เป็นต้น และน้ำที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน เรียกว่า น้ำใต้ดิน รวมทั้งน้ำที่อยู่ในอากาศ เช่น ก้อนเมฆ

แหล่งน้ำธรรมชาติ
                แหล่งน้ำธรรมชาติ  หมายถึง แหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
                1. แหล่งน้ำในบรรยากาศ เช่น ไอน้ำ  เมฆ  หมอก
                2. แหล่งน้ำผิวดิน  ทะเล  ทะเลสาป  มหาสมุทร แม่น้ำ  ลำคลอง  น้ำตก เป็นต้น
                3. แหล่งน้ำใต้ดิน เป้นแหล่งน้ำที่อยู่ลึกลงไปจากผิวดิน จะแทรกตัวอยู่ระหว่างชั้นดิน
และชั้นหิน น้ำที่อยู่ในชั้นดินจะเป็นน้ำที่อยู่ตื้นๆ ส่วนน้ำที่อยู่ในชั้นหินจะเป็นน้ำที่อยู่ในระดับลึก
เรียกว่า น้ำบาดาล
น้ำเป็นทรัพยากระรรมชาติที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างมากเพราะสิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการน้ำในการดำรงชีวิต ถ้าหากขาดน้ำนานๆสิ่งมีชีวิตจะตายในที่สุด
การใช้ประโยชน์จากน้ำ
     1. คน และสัตว์ใช้น้ำดื่มกิน
     2. ใช้ชำระสิ่งต่าง ๆ ใช้อาบน้ำ เพื่อชำระสิ่งสกปรกและเหงื่อไคลที่มีอยู่ตามร่างกาย
     3. ใช้ในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
     4. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิด เช่น ปู กุ้ง หอย ปลา สาหร่าย พืชน้ำทุกชนิด
     5. เป็นแหล่งอาหารของสัตว์บางชนิด
     6. ใช้ในกระบวนการสร้างอาหารและดูดซึมแร่ธาตุของพืช
     7. ใช้ในการอุตสาหกรรม เช่น การระบายความร้อน การทำความสะอาด
     8. ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมในการติดต่อสื่อสารและติดต่อทาง                    การค้า
     9. ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า จากพลังน้ำที่กักเก็บไว้ในเขื่อนมาผลิตกระแสไฟฟ้า
10. เป็นแหล่งของทรัพยากรที่สำคัญ เช่น ก๊าสธรรมชาติ และเกลือ
11. เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ





ทรัพยากรหิน

ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์


         วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องทรัพยากรธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นกันนั่นคือ

ทรัพยากรหิน
         หินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเปลือกโลกเกิดจากการเย็นตัวของหินหลอมละลายใต้ผิวโลก และดันตัวออกมาบนพื้นโลก มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง มีสีและขนาดแตกต่างกัน



การใช้ประโยชน์จากหิน

หินอ่อน



ครกหิน
                                              

                                               หินแต่งสวน
    1. หินมีความแข็งแรง คนจึงนำมาใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เช่น หินทราย หินชนวน หินอ่อน










2. คนนำหินแกรนิตมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ 
เช่น ครกหิน โม่หิน เป็นต้น











3. หินบางชนิดนำมาใช้ในการตกแต่งสวนให้มีความสวยงามได้ เช่น หินปูน หินทราย









ทรัพยากรดิน

ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ 

           วันนี้เราจะมาพูดถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มี และการใช้ประโยชน์กันนะคะว่ามีทรัพยากรธรรมชาติอะไรบ้างและนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร

ทรัพยากรดิน    

ดินเป็นทรัพยากระรรมชาติที่เกิดจากการสลายตัวของหินและ แร่ธาตุต่างๆและซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยทับถมกันเป็นเวลาหลายล้านปี  

ชนิดของดิน

ดินแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แบ่งตามลักษณะของชั้นดิน และตามลักษณะของดิน
1. แบ่งตามลักษณะของชั้นดิน แบ่งได้ดังนี้คือ  
     1.1ดินชั้นบน เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ เพราะมีอินทรย์วัตถุมาก เหมาะกับการเจริญเติบของพืช ใช้ในการเพาะปลูกพืชมากที่สุด
     1.2ดินชั้นล่าง  มีความเหนียวแน่น อยู่ถัดจาดดินชั้นบนลงไป มีแร่ธาตุอาหารของพืชน้อย รากพืชงอกหยั่งลงไปได้ยาก

2. แบ่งตามลักษณะของดิน ได้แก่
    2.1 ดินเหนียว ดินมีสีคล้ำ เนื้อดินจับตัวกันแน่น น้ำและอากาศซึมผ่านได้ยากอุ้มน้ำได้ดี    เวลาแห้งจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง ไถพรวนได้ยาก จึงไม่เหมาะกับการปลูกพืชทั่วไปแต่เหมาะสำหรับปลูกข้าว เพราะข้าวเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก

ดินเหนียว

                     2.2 ดินทราย เป็นดินที่มีสีน้ำตาลเข้ม มีทรายปนอยู่มากเม็ดดินมีลักษณะใหญ่และหยาบ ไม่เกาะตัว น้ำและอากาศซึมผ่านได้ง่าย ไม่อุ้มน้ำ 
ไม่เหมาะกับการปลูกพืชทั่วไป เหมาะกับพืชที่ต้องการน้ำน้อยเช่น
กระบองเพชรมันสำปะหลัง

ดินทราย


                  2.3 ดินร่วน เป็นดินที่มีเม็ดดินใหญ่กว่าดินเหนียว เนื้อดินโปร่งกว่าดินเหนียว มีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ น้ำซึมผ่านได้ง่าย อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก มีซากพืชซากสัตว์ปนอยู่มากกว่าดินเหนียว ดินร่วนจึงเหมาะแก่การปลูกพืชทั่วไป

ดินร่วน

การใช้ประโยชน์จากดิน

                1. ใช้ในการทำการเกษตร ปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์ ดินจึงเป็นแหล่งผลิต 
อาหารสำหรับหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด ผัก ผลไม้  เป็นแหล่งผลิตเครื่องนุ่งห่ม เช่นฝ้าย เป็นแหล่งผลิตยารักษาโรค
        2. ใช้ดินมาปั้นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น โอ่ง  ไห  กระถาง
        3. เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ทำรังอยู่ใต้ดิน เช่น มด ไส้เดือน ตัวตุ่น